Categories
News

การใช้งาน Social Listening Tools แบบมืออาชีพ

การใช้งาน Social Listening Tools แบบมืออาชีพ เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์การตลาดบนโลกโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค คลามเคลื่อนไหวของคู่แข่ง ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้ได้อยากหลากหลายตามความต้องการ แน่นอนว่าสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งานเครื่องมือนี้ในการวิเคราะห์มาก่อน อาจทำให้ใช้งานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพมากพอ วันนี้ Mandala Analysis จะมาแนะนำ การใช้งาน Social Listening Tools แบบมืออาชีพ ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลย

แต่ก่อนที่เราจะไปเข้าเนื้อหาสาระสำคัญ เราไปดูกันก่อนดีกว่าว่า Social Listening Tools คืออะไร มีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณอย่างไร

Social Listening Tools คืออะไร

Social Listening Tools คือ เครื่องมือที่ใช้ในการดักฟังเสียง โดยเสียงที่ว่านี้เป็นข้อมูลสำคัญที่อยู่บนโลกโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook , Instagram , YouTube , Twitter , Blog , Web forum ฯลฯ ทุกความเคลื่อนไหนของผู้บริโภค เช่น การคอมเมนต์ แสดงความคิดเห็น ติดแฮชแท็ก การค้นหา การโพส ฯลฯ ธุรกิจจะสามารถรู้ได้เลยทันที ผ่านการ Set Keyword and Monitor ด้วยการทำงานของ AI อัจฉริยะทางเทคโนโลยี ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน รวดเร็วและแม่นยำ ทำหน้าที่ในการรรวบรวมข้อมูล พร้อมประมวลผลการวิเคราะห์ เพื่อให้ธุรกิจทราบว่าผู้บริโภคมีความรู้สึกอย่างไรต่อแบรนด์ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นอกจากจะได้รู้ความเคลื่อนไหวของผู้บริโภคแล้วยังสามารถรู้ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งได้อีกด้วย

โดยหลักๆ แล้ว Social Listening Tools มีความสามารถดังต่อไปนี้

Listening and Monitoring
ติดตามความเคลื่อนไหว เมื่อมีคนกล่าวถึง (Mention) แบรนด์ของคุณ เพื่อจุดประสงค์ด้านการวัดผล Awareness

Insight Research
ค้นหาข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค ดูความเคลื่อนไหวคู่แข่ง รวมถึงดูภาวะตลาด ณ ช่วงเวลานั้นๆ

Improves Sales and Engage with Customer
ช่วยปรับปรุงการขายหรือการให้บริการ และช่วยให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าบนโลกโซเชียลมีเดีย ทำให้สามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว

Content Strategy
ช่วยสร้างคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการหา Topic ในกระแส หรือหัวข้อที่โดนใจลูกค้าในกลุ่มเป้าหมาย

Business Development
ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการ เปิดโอกาสให้ธุรกิจใหม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจเดิมที่ครองส่วนแบ่งการตลาด

Influencers and Trends Spotting Channels Marketing
ช่วยค้นหาผู้มีอิทธิพลทางความคิด จัดการความเคลื่อนไหวและผลตอบรับ ตลอดจนดูแนวโน้มเทรนด์ต่าง ๆ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ

การใช้งาน Social Listening Tools แบบมืออาชีพ

ขั้นตอนแรกจะต้องมีการกำหนด Campaign Period หลังจากนั้นให้เลือก Social media platform ที่ต้องการ Monitor หรือ Channel ที่ต้องการดูความเคลื่อนไหว โดยสามารถ Search Channel ที่ต้องการลงไปได้เลย
ในส่วนของการ Set Keyword สามารถใช้สื่อสินค้า ชื่อแบรนด์ หรือคำกว้าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปได้
หลังจากที่ Add Campaign เรียบร้อย โปรแกรมจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และแสดงผลลัพธ์ ในขั้นตอนนี้จะทำงานด้วยระบบ AI ที่มีความแม่นยำ และทำงานรวดเร็ว ส่วนจะใช้เวลามากน้อยเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูล และความสามารถของโปรมแกรม
หากเป็นโปรแกรมของ Mandala Analysis สามารถดึงข้อมูลแบบ Overall โดยผู้ใช้งานสามารถแยกในแต่ละ Channel ได้ นอกจากนั้นยังทำให้สามารถเปรียบเทียบได้ว่าช่องทางไหน ที่มีการพูดถึงแบรนด์ของเรามากที่สุด หรือเรียกว่า Mention หากช่องทางใดที่มี Mention มากที่สุด คุณสามารถใช้ช่องทางนั้นในการทำการตลาด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกหนึ่งจุดเด่นของ Mandala Analysis คือ ไม่เพียงแต่ใช้ดูว่าช่องทางไหนที่มี Mention มากที่สุด แต่ยังสามารถเจาะเข้าไปในแต่ละช่องทาง เพื่อดู Post ที่มีการ Mention ตรงกับคำที่ Set keyword ตรงจุดนี้เอง คุณสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม ตอบคำถาม ตอบข้อสงสัย หรือร่วมแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ สร้างการมีส่วนร่วม เปรียบเหมือนการเอาใจใส่ ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ ไม่เพียงแค่ดูการ Mention ในโพสเท่านั้น แต่ยังสามารถเจาะเข้าไปดู Member หรือ User นั้นๆ คล้ายกับการส่องเพื่อนใน Facebook แต่ทำงานง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่า

ในฟีเจอร์ของ Trend over time จะเป็นกราฟที่แสดงให้เห็นว่ามีการกล่าวถึงแบรนด์หรือคำที่ Set keyword ลงไปตั้งแต่ช่วงเวลาไหน ถึง ช่วงเวลาไหน การ Set keyword อาจไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อสินค้าหรือคำที่เกี่ยงข้องกับแบรนด์ อาจเป็นชื่อดารา นักร้อง หรือคำอื่นๆ ที่อยู่ในกระแส ธุรกิจสามารถจับกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ด้วยการติดแฮชแท็กลงไปในคอนเทนต์ นอกจากนั้น Social Listening Tools ยังสามารถค้นหาแฮชแท็กยอดนิยม ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Keyword นั้นได้ด้วย

ในด้านของ Sentiment Mandala Analytics สามารถ Post กราฟออกมาเป็นเทรนด์ หรือ Trend Line เพื่อดูว่าในแต่ละช่วงเวลาที่ Sentiment มีค่าเป็นบวกหรือลบ โดยมีสัดส่วนต่างกันอย่างไร